เมนู

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อ
ภิกษุพิจารณากายในกาย เป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดย
ชอบในกายานุปัสสนานั้น. เธอตั้งจิตไว้โดยชอบในกายานุปัสสนานั้นแล้ว ยัง
ญาณทัสสนะให้เกิดในกายอื่นในภายนอก. ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
เป็นภายในมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
เมื่อภิกษุพิจารณาเวทนาในเวทนาเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใส
โดยชอบในเวทนานุปัสสนานั้น เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในเวทนา
นุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในเวทนาอื่นภายนอก ภิกษุพิจารณาจิต
ในจิตเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ย่อม
ผ่องใสโดยชอบในจิตตานุปัสสนานั้น. เธอตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบ
ในจิตตานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดในจิตอื่นในภายนอก. ภิกษุ
พิจารณาธรรมในธรรมเป็นภายใน มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุพิจารณาธรรมในธรรมเป็นภายในอยู่
ย่อมตั้งจิตไว้โดยชอบ ผ่องใสโดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้น. เธอตั้งจิตไว้โดย
ชอบ ผ่องใสโดยชอบในธัมมานุปัสสนานั้นแล้ว ยังญาณทัสสนะให้เกิดใน
ธรรมอื่นในภายนอก. สติปัฏฐาน 4 อย่างนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้
ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติแล้ว เพื่อบรรลุคุณ

ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ



[206] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหม ได้กล่าวเนื้อความ
นี้แล้ว ได้เรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มากล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เทวดา
ชั้วดาวดึงส์จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บริขารแห่งสมาธิ 7 ประการนี้ อัน